r ma calender

วิทยุ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

การแต่งนิยายเป็นของตัวเอง


สวัสดีค่ะ

เราลองมาแต่งนิยายเป็นของตัวเองกันเถอะ สมัยนี้การใช้ปากกาเขียนนิยายลดน้อยลง ส่วนมากจะพิมพ์แทนการเขียน เพราะงั้นเราไม่ต้องตกใจกัน เพราะเราเป็นเด็กรุ่นไอที หรือโลกทันสมัย สมัยนี้ก็เน้นแต่งนิยายสั้นกันทั้งนั้น รวมทั้งตัวดิฉันด้วย มีการแต่งบ้างในบางโอกาส

เทคนิคในการแต่งนั้นมีไม่มาก หวังว่าเพื่อนๆจะนำไปใช้ได้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ


พลอตเรื่อง อันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องวางพลอตเรื่องจนเป็นระบบระเบียบนะคะ มันจะเป็นการตีกรอบความคิดและจินตนาการของตัวเองมากเกินไป เพราะการเขียนนิยายต้องพยายามเปิดความคิดให้กว้างเอาไว้ค่ะ วางพลอตเรื่องหลักๆเอาไว้ก็พอ เช่น เปิดเรื่องมาจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นระหว่างพระเอก/นางเอกของเรา หลังจากเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว ผลที่ออกมาจะเป็นยังไง จะเดินเรื่องต่อแบบเรียบๆโดยใช้เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตัวละครมาสร้างอรรถรสให้ผู้อ่านหรือจะสร้างปมให้เหตุการณืนั้นต่อไป อันนี้ให้เก็บไปลองประยุกต์ใช้กันต่อไปนะคะ

รายละเอียดปลีกย่อยของเรื่อง หากเราวางพลอตเรื่องแล้วรู้สึกว่าคนอ่านภูกตรึงเอาไว้ที่พระเอกนางเอกมากจนเกินไปเราสามารถใส่ตัวละครย่อยๆลงไปเพิ่มเติมได้ เช่น เพื่อนพระเอก พ่อแม่นางเอก หรือคนข้างๆบ้าน ซึ่งเราสามารถเสริมเข้าไปได้ระหว่างการดำเนินเรื่องหรือจะใส่เอาไว้ในพลอตเรื่องหลักก็ได้ค่ะ แต่อย่าลืมว่าถ้าเราวางตัวละครรองให้อยู่ในพลอตเรื่องหลักแล้วตัวละครนั้นต้องมีความสำคัญมากพอสมควรไม่ใช่ว่าเขียนโน้มน้าวให้คนอ่านรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการเดินเรื่องแล้วจู่ๆก็หายตัวไป มันจะทำให้นิยายของเราอ่านแล้วด้วนๆไปนะคะ

อย่างไรก็ตาม ตัวละครรองที่จะเสริมเข้าไปนั้นต้องดูความสมเหตุสมผลด้วย ไม่ใช่อยู่ๆก็ปล่อยตัวละครเพิ่มเข้ามาในเรื่องโดยไม่มีสาเหตุ เพราะคนอ่านจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจกับตัวละครที่ผู้เขียนเพิ่มเข้ามาอย่างไม่มีเหตุผล นอกจากนี้เหตุการณ์ในนิยายที่เป็นเรื่องราวของการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น ทานข้าว อาบน้ำ ไปทำงาน ฯลฯ อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะคะ เพราะเรื่องราวในส่วนนี้จะช่วยสร้างสีสันให้กับนิยายของเราให้สมจริงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกรณีของนิยายซึ้งๆเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้นิยายของเราดูซอฟท์ลง ไม่หนักหรือตึงเครียดจนเกินไปเวลาอ่าน

บทสนทนา สำคัญมากนะคะ บางครั้งพลอตเรื่องของเราอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างช่น ถ้าเป็นประเภทรักหวานแหวว ก็คงหนีไม่พ้นพระเอกแอบหลงรักนางเอกแล้วสุดท้ายก็รักกัน หรือไม่ ก็พระเอกนางเอกไม่ชอบขี้หน้ากันในตอนแรกและสุดท้ายก็มารักกัน พลอตเรื่องหลักๆของนิยายรักหวานแหววส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบนี้ คุณเห็นด้วยกับผู้เขียนมั้ยล่ะคะ บางคนอาจมองว่ามันไร้สาระหรือเป็นพลอตเรื่องที่ดูแล้วซ้ำซากจำเจจนดูว่าเป็นพลอตเรื่องโหลๆ อย่าคิดแบบนั้นเด็ดขาดค่ะ!!!!

งานเขียนทุกชิ้น นิยายทุกเรื่องมีคุณค่าในตัวมันเสมอถ้าคุณใส่ใจลงไปในงานเขียนด้วย ฉะนั้นบทสนทนาจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนได้เป็นอย่างดีค่ะ ว่าต้องการสื่อให้คนอ่านจินตนาการถึงลักษณะและอารมณ์ของตัวละคร แบบไหนอย่างไร ต้องการให้คนอ่านมองตัวละครเป็นคนแบบไหน โรแมนติก เย็นชา หรือ เก็บกด บทสนทนาสามารถถ่ายทอดนิสัยและอารมณ์ของตัวละครสู่ผู้อ่านโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องบรรยาออกเป็นรูปธรรมเลยหละค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครของเรามักจะพูดน้อยหรือไม่ก็พูดเสียงห้วนๆกับนางเอกทุกครั้งที่คุยกัน ผู้อ่านก็สามารถเข้าใจได้ค่ะ ว่าพระเอกเ)นคนเย็นชา ไม่จำเป็นต้องบอกตรงๆในบทบรรยาย ซึ่งจะทำให้เรื่องของเราซึมลึกเข้าถึงอารมณ์ของผู้อ่านมากกว่าการเขียนบรรยาออกไปตรงๆว่าเขาเป็นคนเย็นชา

** ถ้าบทสนทนาเจ๋ง ภาษาพูดที่จะใช้ในการวื่ออารมณ์เยี่ยมรับรองว่าถึงพลอตเรื่องของคุณจะแสนธรรมดาเพียงใดคนอ่านก็ติดงอมแงมอยู่ดีค่ะ

ภาษาและความถูกต้อง อันนี้มีประสบการณ์ตรงมาเองเลยค่ะ ตอนแรกใช้คำว่า ชั้น แทน ฉัน พอเขียนไปนานๆรู้สึกว่า เอ๊ะ นี่มันนิยายหรือการ์ตูนมันดูไม่ค่อยเป็นสากลเท่าไหร่ เหมือนนิยายไม่ได้มาตรฐานอะไรประมาณนั้น ซึ่งเหตุผลที่ตอนแรกใช้คำว่าชั้น เพราะเรามองว่าการออกเสียงในชีวิตประจำวันเราจะไม่พูดว่าฉัน แต่จะพูดว่าชั้น จริงมั้ยคะ ^^ ซึ่งในความเป็นจริงเป็นจริงแล้ว คนอ่านามารถรู้ได้เองค่ะว่าควรอ่านออกเสียงแทนตัวละครยังไง ไม่ต้องคิดแทนคนอ่านนะคะว่าเขาจะอ่าน คำว่าฉัน เป็น ฉัน (งงมั้ยคะเนี่ย) เพราะฉะนั้นเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยดีกว่านะคะ เพื่อธำรงความเป็นไทยเอาไว้ยังไงล่ะ
ท้ายนี้ก็ขอให้ตั้งใจแต่งกันนะต่ะ ใครๆก็อยากมีนิยายเป็นของตัวเอง อยาลืมเอามาให้ดูกันบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น