r ma calender

วิทยุ

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

คอนแทคเลนส์





ใครที่เคยใส่คอนแทคเลนส์แล้วมีปัญหายกมือขึ้น ฉันก็เป็นคนหนึ่งที่เพิ่งเริ่มใส่คอนแทคเลนส์ ใส่มาได้เป็น 2 ปีและ แต่ก็ยังมีปัญหาทางสายตา ก็เลยอยากมาเล่าสู่วิธีในการดูแลและป้องกันเชื้อโรคเข้ามาในตา อันมาจากสาเหตุความไม่สะอาด


 

วิธีการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์

 
สำหรับคนสายตาผิดปกติคงต้องขอบคุณผู้ผลิตคิดค้น คอนแทคเลนส์ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาสายตาให้มองเห็นได้ดีขึ้นแล้ว โดยเข้ามาแทนที่การใช้แว่นสายตาที่บางคนไม่ชอบเพราะบดบังความงามของตาคู่งาม หรือใบหน้าสวยของตัวเอง ใส่คอนแทคเลนส์ดูเป็นธรรมชาติกว่าเป็นไหนๆ แต่คงยังต้องยอมรับว่าแว่นสายตายังครองอันดับหนึ่ง ของอุปกรณ์แก้ปัญหาสายตาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่

เลนส์สัมผัส หรือที่มักเรียกกันติดปากทับศัพท์ว่า คอนแทคเลนส์ นั้นเป็นแผ่นพลาสติกที่ได้รับการขัดเกลาหรือหล่อให้เป็นแผ่นกลมรูปร่าง คล้ายกระทะที่มีขนาดเหมาะสมกับตาดำ นำมาวางปะหน้าตาดำอาศัยน้ำตา ที่ฉาบอยู่บนผิวหน้าของตาดำเป็นตัวยึดเลนส์สัมผัสให้ติดกับดวงตา

ด้วยเหตุที่คอนแทคเลนส์จะต้องสัมผัสกับตาดำเราตลอดเวลา การดูแลรักษาที่ดีนอกจากให้มองเห็นชัดเจนแล้ว ตัวคอนแทคเลนส์ก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น และที่สำคัญผู้ใช้ปลอดภัยปราศจากการติดเชื้อ

โดยทั่วไปคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มจะดูดซับสิ่งสกปรกจากสิ่งแวดล้อม และสารต่างๆ ที่มีอยู่ในตา ได้แก่ น้ำเมือก น้ำมัน และโปรตีน ตลอดจนสารเคมีจากเครื่องสำอางเอาไว้ สิ่งสกปรกเหล่านี้จะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณลักษณะที่ดีของคอนแทคเลนส์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความใสสะอาด ผิวเรียบ มีความโค้งสม่ำเสมอ ฯลฯ ซึ่งความโค้งที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เลนส์ที่เคยใช้ได้พอดีกลับกลายเป็นคับหรือหลวมไป หรือใส่ไม่สบายก็ได้ คอนแทคเลนส์ที่เคยใสกลับหมองไปทำให้มองภาพไม่ชัด ผิวที่เคยเรียบบากเป็นรอย ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งหมดอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นเหนือสิ่งอื่นใดคุณควรคำนึงถึงสุขอนามัยของดวงตาเป็นอย่างแรก เพราะดวงตาถ้าเป็นอะไรไปแล้วก็ยากแก่การทดแทนใหม่ได้ จึงอย่าขี้เกียจที่จะทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเรื่องจำเป็น เรามีวิธีการดูแลรักษาคอนแทกเลนส์มาฝากเป็นขั้นเป็นตอนให้คุณปฏิบัติได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น



  1. การล้างทำความสะอาด (cleaning) โดยใช้น้ำยาเพื่อทำความสะอาด ตัวน้ำยาประกอบด้วยสารซึ่งทำหน้าที่คล้ายผงซักฟอก โดยน้ำยานี้จะจับกับสิ่งสกปรกตลอดจนเชื้อโรคให้หลุดออกจากผิวคอนแทคเลนส์ เชื่อกันว่าวิธีนี้สามารถขจัดเชื้อโรคออกไปได้ถึง 90%



  2. การชะล้าง (rinsing) ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเกลือพิเศษที่มีสารกันเสียอยู่ด้วย หรือ ใช้น้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ (ใช้น้ำเกลือทั่วๆ ไปแทนไม่ได้) เป็นการใช้น้ำยาเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก



  3. การฆ่าเชื้อโรค (disinfecting) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่เหลืออยู่อีก 0.1% ขบวนการนี้อาจจะใช้ความร้อนหรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ



    • การใช้ความร้อน ได้ผลดีกับเชื้อโรคทุกชนิดโดยเฉพาะเชื้อ HIV โดยใช้ความร้อน 80 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที โดยทั่วไปที่มีขายจะทำเป็นยูนิตสำเร็จรูปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟฟ้า ใช้เวลาประมาณ 45 นาที เครื่องจะดีดกลับเองเมื่อเสร็จสิ้นขบวนการ วิธีนี้สะดวกปลอดภัย แต่มีข้อเสียตรงที่คอนแทคเลนส์อาจจะเสียเร็ว และเปลี่ยนสีได้



    • การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นวิธีที่สะดวก ใช้ง่าย เพียงแช่คอนแทคเลนส์ในน้ำยาตามเวลาที่กำหนด แต่มีข้อเสียคือราคาแพง บางคนอาจแพ้ทำให้เกิดอาการคันตา ตาแดง โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดเลนส์ไม่ตามขั้นตอน เช่น ไม่ทำความสะอาดก่อน ซึ่งไม่ควรลืมว่าหลังแช่น้ำยาแล้วต้องเทน้ำยาที่ใช้แล้วทิ้งไปเสมออย่าเสียดาย ถ้าไม่เปลี่ยนน้ำยาในคราวต่อไป ก็มีโอกาสมากที่จะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค



    • ขบวนการ oxidative โดยใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีความเข้มข้น 0.6% -3% ข้อดีของวิธีนี้คือ สารตัวนี้สามารถ ฆ่าเชื้อโรคได้มากตัว แต่มีข้อเสียคือราคาแพงและต้องล้างด้วยน้ำยาอีกชนิดหนึ่ง ถ้าล้างด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ออกไม่หมดจะมีจะมีอาการแสบและเคืองตามาก ขั้นตอนของการฆ่าเชื้อวิธีนี้จึงต้องมี 2 ขั้นซึ่งยุ่งยากมาก และห้ามนำมาใช้กับเลนส์เพราะความเข้มข้นไม่แน่นอน มีโลหะหนักบางชนิดเจือปน ใช้แล้วทำให้เลนส์เปลี่ยนสีได้



  4. การใช้ Enzyme หรือที่เรียกกันว่าน้ำยาล้างคราบโปรตีน* เป็นน้ำยาที่ช่วยขจัดคราบโปรตีนที่เกาะติดอยู่ในคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง ถือเป็นการขัดและทำความสะอาดใหญ่ มักจะทำเป็นรูปยาเม็ด ซึ่งต้องแช่ในน้ำเกลือ (ไม่ใช่น้ำกลั่น) หรือน้ำยาคอนแทคเลนส์ที่กำหนดไว้ หลังจากแช่แล้วควรล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้งด้วยน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์

    *สำหรับผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์บิ๊กอาย (Big Eye) ควรใช้น้ำยาล้างคราบโปรตีน 1-2 หยด ร่วมกับน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ของคุณ แช่เอาไว้ในตลับประมาณ 24 ชม. และนำออกมาล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้ง ก่อนนำมาสวมใส่ ทำอย่างนี้เป็นประจำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะช่วยรักษาคอนแทคเลนส์ของคุณให้สวมใส่ได้สบายตา ปลอดภัย และยาวนานมากขึ้น หากดูแลอย่างถูกวิธี



  5. น้ำยาหล่อลื่น (lubricating and Rewetting) โดยปกติผู้ใช้คอนแทกเลนส์มักจะมีตาแห้งง่ายกว่าคนปกติ ทำให้มีอาการระคายเคือง น้ำยานี้จะช่วยให้ตาชุ่มชื้นยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้มีน้ำยาบางชนิดทำมาเป็นแบบสำเร็จรูปทั้ง 5 ขบวนการแรกในน้ำยาตัวเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้ แต่การดูแลคอนแทคเลนส์ ต้องทำตามลำดับขั้นให้ครบถ้วน คอนแทคเลนส์ก็จะอยู่ในสภาพสะอาด ปลอดภัย สำหรับผู้ใช้จะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ใช้คอนแทคเลนส์ทุกวัน ควรเปลี่ยนน้ำยาทุกวันหรืออย่างน้อยต้องทำขบวนการฆ่าเชื้อ (ขบวนการที่ 3) ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาใส่




  6. การดูแลตลับใส่เลนส์ มีผู้ใช้คอนแทกเลนส์จำนวนมากที่ป่วยเพราะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในตลับใส่เลนส์ การดูแลตลับใส่เลนส์จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งควรล้างทุกวันด้วยน้ำยาที่ใช้ดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ให้สะอาด ปล่อยให้แห้ง ควรขัดตลับใส่คอนแทคเลนส์สัปดาห์ละครั้งด้วยน้ำยาที่ดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ ทิ้งไว้ให้แห้ง หรือเปลี่ยนตลับใหม่ทุกๆ 6 เดือน

    ขอเตือนว่า ผลแทรกซ้อนจากการใช้คอนแทคเลนส์ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างคาดไม่ถึง โดยที่ส่วนใหญ่ต้นเหตุเกิดจากการละเลยที่จะดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง จากนี้ไปเพื่อความปลอดภัยของดวงตาคุณเองควรเคร่งครัด กับการดูแลรักษาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ตามขั้นตอนที่กล่าวมา แรก ๆ อาจรู้สึกยุ่งยากสักนิดแต่ถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่นานก็จะชินถนอมทั้งดวงตาและคอนแทคเลนส์ให้ใช้ได้นาน ๆ ไงคะ
     



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น